วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

อุทกภัย น้ำท่วม

      อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
    
      ภาคเหนือ
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่

 เชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 16 อำเภอรวมทั้งเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ รวม 77 ตำบล 498 หมู่บ้าน 84,404 ครัวเรือน 138,090 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย 22,237 ไร่ ปศุสัตว์ 1,286 ตัว ประมงเสียหาย 95 บ่อ บ้านเรือนเสียหาย 1,557 หลัง ถนนเสียหาย 59 สาย สะพาน 21 แห่ง เหมืองฝาย 103 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 11,357,333 บาท
ที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เกิดน้ำท่วมจนไม่สามารถจัดการแข่งขันฟุตบอล ระหว่างสโมสรฟุตบอลราชนาวี ระยองและสโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ดได้ ส่วนสายการบินนกแอร์ได้ยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน
เวลา 20.00 น.ของวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554 เกิดเหตุดินสไลด์ซ้ำเป็นครั้งที่ 3 เส้นทางขุนยวม แม่สะเรียง เชียงใหม่ ทางหลวงหมายเลข 108 รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ คาดจะสามารถเปิดการจราจรได้ในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 7กันยายน พ.ศ.2554

 เชียงราย

อ่างเก็บน้ำห้วยสัก บ้านท่าสุด หมู่ 3 ต.ท่าสุด อ.เมือง ในจังหวัดเชียงราย ฐานดินพังทลาย จนเป็นเหตุให้ต้องซ่อมแซมก่อนที่อ่างเก็บน้ำจะแตกชำรุด ที่ถนนสายแม่สรวย-ดอยวาวี บริเวณหมู่บ้านทุ่งพร้าว หมู่ 8 ต.วาวี อ.แม่สรวยดินพังทลายเป็นทางกว้างประมาณ 100 เมตร และลึกกว่า 20 เมตร ทำให้ไม่สามารถสัญจรได้ และต้องทำการซ่อมแซมอีกครั้งภายหลังพึ่งซ่อมแซมมาได้เพียงไม่นาน ส่วน ถนนเขตเทศบาลนครเชียงราย เกิดน้ำท่วมขัง จนเป็นเหตุให้โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์เกิดความโกลาหลต้องนำรถพยาบาลออกมารับผู้แทนเนื่องจากรถยนต์บางคันไม่สามารถเข้ามาถึงภายในโรงพยาบาลได้

อุตรดิตถ์

จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับความเสียหายในพื้นที่ 4 อำเภอ 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน[5] ทางหลวงหมายเลข 1146 ช่วงกิโลเมตรที่ 4-5 ได้รับความเสียหายรถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ที่อำเภอเมือง พบว่าฝายน้ำล้นชำรุดและท่อลอดเหลี่ยมได้รับความเสียหายหลายจุด ที่อำเภอฟากท่า น้ำป่าไหลเข้าท่วม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่พื้นที่ตำบลฟากท่า และตำบลสองคอน ในเบื้องต้นพบว่าที่ทำการกลุ่มแม่บ้าน ที่ทำการกลุ่มทอผ้า ประปาหมู่บ้าน ได้รับความเสียหายบางส่วน ที่อำเภอน้ำปาด น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร และสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหายสะพานข้ามบ้านนาน้ำพราย ตำบลเด่นเหล็ก อำเภอน้ำปาด ชำรุดเสียหาย ในขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ระดับน้ำที่กักเก็บไว้พุ่งสูงถึง 85% อยู่ในภาวะวิกฤติ
เกิดเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มที่ บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 2 ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2554ว่า ทำให้มีบ้านเรือนประชาชนเสียหายถูกน้ำป่าพัดหายไปทั้งหลังจำนวน 7 หลัง ไม่มีผู้เสียชีวิต และทำให้สะพานบ้านห้วยเดื่อขาด รถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้ และห่างจากบ้านห้วยเดื่อหมู่ที่ 2 ไปประมาณ 5 กิโลเมตรก็ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มในเวลาไล่เลี่ยกันทำให้สะพานบ้านต้นขนุน หมู่ที่ 3 ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ขาด ยานยนต์ทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และน้ำป่าได้พัดบ้านเรือนราษฎรหายไปกับสายน้ำทั้งหมดจำนวน 12 หลัง มีผู้สูญหายจำนวน 7 คน มีผู้บาดเจ็บ 3 ราย วัวควายหายไปกับกระแสน้ำจำนวน 8 ตัว รถยนต์ของชาวบ้าน 1 คัน รถไถนาเดินตาม 1 คัน มอเตอร์ไซค์ 1 คัน และรถยนต์ที่ใช้ในราชการของหน่วยพิทักษ์ป่าคลองตรอน 1 คัน รถจักรยานยนต์ของเจ้าหน้าที่อุทยานจำนวน 10 คัน บ้านพักครูโรงเรียนบ้านห้วยคอม หมู่ที่ 4 ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ถูกน้ำป่าพัดหายไป 1 หลัง ครู 7 ชีวิตวิ่งหนีตายขึ้นภูเขาหลังโรงเรียน ในช่วงเวลา 02.20 น.อุปกรณ์สื่อการเรียนคอมพิวเตอร์ถูกน้ำป่าพัดหายไปทั้งหมด มีผู้เสียชีวิต 4 ราย สูญหาย 10 ราย

 แพร่

จังหวัดแพร่ทั้งจังหวัดมีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน 2 คืน ปริมาณน้ำที่ตกลงมามีมากในพื้นที่ต้นน้ำ ส่งผลให้เกิดน้ำป่าทะลักรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.สองห้วยแม่สะกึ๋น ห้วยแม่สอง ไร่ข้าวโพดและนาข้าว ใน ต.สะเอียบ ต.เตาปูน ต.บ้านกลาง ได้รับความเสียหาย, อ.ร้องกวาง อ.หนองม่วงไข่ ที่ห้วยแม่คำมี ห้วยแม่เติก แม่ถาง พืชผลเกษตรเสียหาย, อ.เมือง น้ำป่าที่ไหลออกจากป่าด้านตะวันออกของเขตเทศบาลเมืองแพร่ เข้าท่วมตัวเมืองบริเวณสี่แยกสนามบินและหน้าโรงพยาบาลแพร่และบริเวณต้นน้ำมีดินเคลื่อนตัว ทำให้ถนนหลายแห่งและย่านชุมชนในบ้านแม่ลัวประสบปัญหาหนัก จนชาวบ้านไม่สามารถเข้าออกได้ด้วยรถยนต์ อ.สูงเม่น น้ำแม่มาน น้ำแม่สาย มีน้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมบ้านสบสาย มีระดับสูงถึง 1 เมตร อ.เด่นชัย ลำห้วยแม่พวกซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ที่สุดของอำเภอ มีน้ำป่าทะลักรุนแรง ท่วมโรเรียนบ้านห้วยไร่ ชุมชนหลายแห่ง พืชผลเกษตรและสัตว์เลี้ยงจำพวกโคกระบือหนีน้ำไม่ทันล้มหลายตัว, ที่ อ.ลอง น้ำแม่ต้า น้ำป่าทำให้บริเวณทางเข้าสถานีรถไฟบ้านปิน ตัดทางรถไฟ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของการรถไฟได้ส่งพนักงานเข้าซ่อมอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถใช้การได้ หมู่บ้านสบสาย ต.สบสาย อ.สูงเม่น ต.แม่ปาน อ.ลอง มีน้ำยมทะลักล้นตลิ่งหลายพื้นที่ โดยเฉพาะถนนสายแม่ปาน-อ.ลอง ถนนสายทุ่งแล้ง-ไป อ.ลอง ถนนจากทุ่งแล้งไปบ้านวังเคียน พร้อมทั้งถนนสาย ทุ่งแล้งวังชิ้น น้ำท่วมสูงจนรถยนต์ไม่สามารถผ่านไปมาได้ และที่ ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง หมู่ 1 หมู่ 9 ระดับน้ำบางจุดเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 2 เมตร เจ้าหน้าที่กู้ภัยพานพิทักษ์ อ.ร้องกวาง ออกช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ในบ้านที่น้ำท่วมในลำน้ำแม่คำมี ขณะออกปฏิบัติการ เรือประสบอุบัติเหตุคว่ำ 1 ลำ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว ในส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองแพร่ ได้นำแผงเหล็กมาปิดกัน ห้ามรถผ่านไปมา คือ ถนนสายช่อแฮ ตั้งแต่หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ไปถึงบริเวณโรงพยาบาลแพร่[9] และถนนราษฎร์อุทิศบริเวณหลังสถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองแพร่ สถานีรถโดยสารประจำทางจังหวัดแพร่น้ำท่วมสูง 1 ฟุต ส่งผลให้ประชาชนต้องเดินลุยน้ำเพื่อโดยสารรถประจำทาง

 ลำพูน

ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2554 จ.ลำพูน มีพื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ 23 ตำบล 243 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 35,001 คน 10,790 ครัวเรือน โดยส่วนใหญ่ความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม มีบ้านเรือนราษฎร ตลิ่ง พนังกั้นน้ำ นาข้าวได้รับความเสียหาย

 แม่ฮ่องสอน

กำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้สั่งการให้นายอำเภอแม่สะเรียง ทำการอพยพราษฎรบ้านห้วยโผ หมู่ที่ 6 ต.แม่ยวม จำนวน 70 ครอบครัว ไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หลังพบว่าบริเวณยอดภูเขาสูงมีรอยแยกมากกว่า 10 จุด เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากกลัวภัยจากดินถล่ม หลังจากที่ ทางตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมยเกิดเหตุดินถล่ม เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 รายถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านนาจลองถูกตัดขาด รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ลำน้ำปาย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ระดับน้ำก็ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และน้ำได้นำพาเอาเศษไม้และต้นไม้ขนาดเล็กไหลมากับน้ำด้วย โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ บริเวณลำห้วย มีการขนย้ายข้าวของบางส่วนขึ้นมาอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว และยังคงเฝ้ารอดูสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิด หากว่ายังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องอยู่เกรงว่าระดับน้ำ ก็จะเพิ่มสูงและรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกัน นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ อบต.บ้านแม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หลังบ้านเรือนในพื้นที่ได้รับความเสียหาย 540 หลังคาเรือน และสะพานแม่น้ำเงาขาด ซึ่งศูนย์ดังกล่าวอยู่ไม่ไกลกับสถานที่เกิดเหตุดินถล่มอีกด้วย
นอกจากนี้ แล้วบริเวณที่สถานีทดลองข้าวไร่ ตามโครงการพระราชดำริ บ้านไร่ ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า น้ำป่าจากลำห้วยน้ำรินไหลทะลักอย่างรวดเร็ว เข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ข้าวไร่ ของสถานีได้รับความเสียหายหนัก สายการบินนกแอร์ เที่ยวบิน DD8902 ที่จะเดินทางไปยังท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน นักบินได้ตัดสินใจบินกลับไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต้องอาศัยรถในการเดินทางแทน อำเภอปายน้ำตามลำห้วยต่างๆ ได้ไหลลงสู่แม่น้ำปาย ทำให้แม่น้ำปาย เริ่มเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรบริเวณบ้านทุ่งกองมู และบ้านสบสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ชาวบ้านต้องรีบเก็บผลผลิตทางการเกษตรเพื่อหนีน้ำอย่างเร่งด่วน ในขณะที่บริเวณชุมชนเคหะในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน น้ำป่าไหลหลากเข้ามาท่วม เนื่องจากท่อระบายน้ำมีขนาดเล็กไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนกล่าวว่า ในพื้นที่อำเภอปาย พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากพายุหมุนนกเตน ทั้งที่นา ไร่ถั่วเหลือง และถนนสายบ้านแม่ของ หมู่ที่ 5 และบ้านนาจลอง หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นาเติง อ.ปาย น้ำท่วมขังไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ เนื่องจากถนนสายดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ลุ่ม ทางอำเภอปายได้แจ้งให้ราษฎรใช้เส้นทางอื่นเป็นการชั่วคราวก่อนจนกว่าปริมาณน้ำจะเข้าสู่ปกติ นอกจากนี้ ยังมีรถจักยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าเวฟคันหนึ่งถูกกระแสน้ำป่าพัดสูญหาย ส่วนอำเภอแม่สะเรียงเกิดเหตุดินถล่ม นายอำเภอได้สั่งการอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ทันที  เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2554 เกิดเหตุการณ์ภูเขาสไลด์ดินถล่มปิดทับถนนสายแม่ฮ่องสอน-แม่สะเรียง บริเวณบ้านท่าหิมส้ม-บ้านหนองแห้ง ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอนทับทางหลวงแผ่นดิน 108 ยาวนับ 100 เมตร และส่งผลให้ทางแยกเข้า 3 หมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงถูกตัดขาดจากโลกภายนอกกว่า 3 วั
เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3 ริกเตอร์ เมื่อเวลาประมาณ 00.06 น.ของวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2554 ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอนไมพบความเสียหายมีเพียงชาวบ้านตกใจกลัวขวัญเสียเท่านั้น

พิษณุโลก

ที่อำเภอชาติตระการ กว่า 3 หมู่บ้าน ถนนถูกตัดขาดหลายสาย และปริมาณน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งส่งเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ เข้าพื้นที่ เตรียมอพยพชาวบ้าน เนื่องจากถนนเส้นทางสายชาติตระการ - บ่อภาค ถูกตัดขาดหลายช่วง ชาวบ้านในหมู่ที่ 3 หมู่ ที่ 4 และ หมู่ที่ 10 ของ ต.บ่อภาค ประชาชนไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรเข้าออกหมู่บ้านได้

 พิจิตร

ที่วัดโรงช้าง จังหวัดพิจิตร ต้นมะกอกป่าได้โค่นลงทับกุฎิพระเป็นเหตุมีพระได้รับบาดเจ็บ ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับน้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลลงมาแต่ระบายน้ำไม่ทัน จนลำคลองล้นและทะลักเข้าท่วมนาข้าว 5 ตำบล ประกอบไปด้วย ตำบลวังกรด ตำบลลำปะดา ตำบลบางไผ่ ตำบลหอไกร รวม 49 หมู่บ้าน ซึ่งใกล้เก็บเกี่ยว น้ำท่วมสูงเกือบมิดต้นข้าวนับหมื่นไร่

ภาคกลาง

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่ จังหวัด

สมุทรปราการ

เกิดเหตุสะเทือนขวัญเมื่อเสาไฟฟ้าได้ล้มลงทับผู้เคราะห์ร้ายซึ่งเป็นคนขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างเสียชีวิต และยังมีเสาไฟฟ้าอีกสองต้นล้มลงมาขวางทางถนน เหตุเกิด กลางซอยขจรวิช หมู่ 1 ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ส่งผลให้ไฟฟ้าดับไปช่วงหนึ่ง

 ปทุมธานี

ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้ประกาศภัยพิบัติ 2อำเภอ รวมทั้งหมด64หมู่บ้านน้ำท่วมเข้าบริเวณตลาดบางเตย ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี และเข้าท่วมสถานีตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 10-20 ซม.บรรดาพ่อค้าแม่ค้าในตลาดขนย้ายข้าวของขึ้นที่สูงหนีน้ำท่วม]เมื่อเวลา 22.00 น.วันที่ 8 ก.ย.54 พ.ต.ท.ประเสริฐ พิมเสน สารวัตรเวรสอบสวน สภ.เมืองปทุมธานี ได้รับแจ้งเหตุรถชนกันบนสะพานปทุมธานี 2 จำนวน 7 คัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 1 รายจึงไปที่เกิดเหตุบนสะพานปทุมธานี 2 ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยมีฝนโปรยลงทำให้ถนนลื่นโดยจุดเริ่มต้นจากรถกระบะบิกเอ็มสีแดงได้เฉี่ยวรถจักรยนตร์จนล้ม ทำให้รถที่ตามมาหักหลยจนไปชนข้างทางและชนตามกันเป็นทอด ๆ

นครสวรรค์

น้ำท่วมนาข้าวในตำบลบางพระหลวง ม.2 อ.เมืองนครสวรรค์ น้ำในคลองบางพระหลวง คลองสาขาของแม่น้ำน่าน เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนพื้นที่หมู่ 2 ต.บางพระหลวง อ.เมือง ชาวบ้านต้องทำการอพยพย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง ที่อำเภอชุมแสงพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมนับหมื่นไร่ ชาวนาได้รับความเดือดร้อนหนัก ถนนหลายสายเริ่มขาด ประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ถูกน้ำท่วมทั้งหมดโดเฉพาะที่ ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง ที่มีเกษตรกรเลี้ยงวัวเนื้อนับพันตัวต้องต้อนวัวมาเลี้ยงข้างถนน ฝูงวัวไม่มีหญ้ากินเพราะน้ำท่วมหมด บางรายต้องต้อนฝูงวัวไปเลี้ยงยังหมู่บ้านอื่นระยะทางหลายสิบกิโลเมตร
เกิดเหตุเรือทหารค่ายจิระประวัติ ล่มขณะเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นเหตุให้ทหารที่เป็นคนขับเรือเสียชีวิต 1 นาย เรือท้องแบนของทหารค่ายจิระประวัติล่มที่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นเหตุให้ทหารจมน้ำเสียชีวิตไป 1 นาย คือ จ่าสิบเอกวสันต์ ธันนิธิ เป็นกัปตันเรือ

ชัยนาท

วันที่ 4กันยายน พ.ศ.2554เขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนของ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก ชาวบ้านกว่า 50 ครัวเรือนต้องทำเพิงพักริมถนน เพื่อเป็นที่หลับนอน และขนข้าวของเก็บไว้ไม่ให้เสียหายจากน้ำท่วม ส่วนทหารเร่งนำเอากระสอบทรายไปกั้นเป็นแนวบริเวณคลองชลประทานบางสารวัตร เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขยายวงกว้างมากขึ้น

 นครปฐม

ร.ต.พงศธร ศิริสาคร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันพื้นที่ประสบอุทกภัยได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว 2 อำเภอ คือ อ.บางเลน, อ.นครชัยศรี ซึ่งมีด้วยกัน 8 ตำบล 66 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 5,257คน 1,469 ครัวเรือน และความเสียหาย รวมมูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นประมาณ 750,000 บาท ประกอบด้วยด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 77 หลัง, ด้านการเกษตร พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 2,849 ไร่ บ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อตะพาบ 50 บ่อ และด้านสิ่งสาธารณะประโยชน์ ถนน 4 สาย

 เพชรบูรณ์

อำเภอหล่มสัก โรงเรียนสิริน คริสเตียนได้สั่งปิดการเรียนการสอนอย่างไม่มีกำหนด ขณะที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 500 หลังคาเรือน การจราจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก น้ำท่วมสูง 60 เซนติเมตรและส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายกว่าหนึ่งหมื่นไร่

พระนครศรีอยุธยา

ที่อำเภอเสนา อำเภอบางบาลและอำเภอผักไห่ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มสูงขึ้นจนล้นตลิ่ง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านในทั้งสองอำเภอเสียหายอย่างหนัก ไม่สามารถขายหรือส่งออกได้ทั้งยังเน่าเหม็นส่งกลิ่นคละคลุ้งในเวลากลางคืน ประชาชนหวั่นเกรงปัญหาโรคระบาดในพื้นที่

 อ่างทอง

ที่อำเภอป่าโมก ซึ่งมีพื้นที่เป็นท้องกระทะราบต่ำ จึงทำให้พื้นที่ราบลุ่ม เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะชาวบ้านตำบลโผงเผง ได้รับผลกระทบ โดยน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนจำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 จำนวน 10 หลังคาเรือนบางจุดน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งสร้างสะพานชั่วคราว เพื่อเข้าออกภายในบ้าน บางหลังต้องทำสะพานออกจากครัว เนื่องจากใต้ถุนบ้านถูกน้ำท่วมสูงที่ ส่วนอำเภอไชโยและอำเภอเมือง

 สิงห์บุรี

 ภาคใต้

ดูบทความหลักที่อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมและแผ่นดินไหวได้แก่กระบี่
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ ตลอดจนคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงขึ้นโดยความสูงของคลื่นประมาณ 2-4 เมตร เรือเล็กงดออกจากฝั่ง หลังฝนตกอย่างหนักในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[ทำให้ปริมาณน้ำในคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากน้ำตกห้วยโต้ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ตำบลทับปริก อำเภอเมืองกระบี่ เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว น้ำเป็นสีโคลน พัดเอากิ่งไม้ ต้นไม้มาเป็นจำนวนมาก เรือประมงขนาดกลาง และขนาดใหญ่กว่า 100 ลำยังคงจอดเทียบท่าเรือและทำการงดเดินเรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดกระบี่

 ตรัง

แม้ว่าจังหวัดตรังจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ แต่ได้เกิดภัยแผ่นดินไหวขนาด 3.5 ริกเตอร์ ในพื้นที่จังหวัดตรัง ส่งผลให้ มีบ้านร้าว 19 หลังคาเรือน ในสามอำเภอ คือ อำเภอกันตัง6 หลังคาเรือน อำเภอย่านตาขาว 5 หลังคาเรือน และ อำเภอเมืองตรัง 8 หลังคาเรือน เหตุเกิดวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภูเก็ต

แม้ว่าจังหวัดภูเก็ตไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ แต่การบินไทยเที่ยวบินที่ 201 ที่ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ต้องเดินทางกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนจะกลับไปยังสนามบินนานาชาติภูเก็ตในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้เที่ยวบินล่าช้า และเที่ยวบินต่อไปของเครื่องบินลำดังกล่าวก็ล่าช้าออกไปด้วยเช่นกัน

ภาคตะวันตก

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่

ตาก

น้ำป่าจากเทือกเขาแม่ระเมิง และดอยผาหม่น ได้ไหลทะลักลงลำห้วยแม่สลิด ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อย่างรุนแรง กระแสน้ำยังไหลบ่าเข้าท่วมโรงเรียนบ้านแม่อุสุ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง ทางโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน พื้นที่ทำการเกษตร นาข้าว ไร่สวน ได้รับความเสียหายเป็นพื้นที่วงกว้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดตากยังสั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ ห้ามลา ห้ามหยุด ให้อยู่เตรียมพร้อมระดับสูงสุดของพายุนกเตน

 ประจวบคีรีขันธ์

น้ำป่าไหลทะลักจากต้นน้ำเพชรบุรีจนมาถึงแม่น้ำปราณบุรี เข้าท่วมพื้นที่ในตำบลห้วยสัตว์ใหญ่และตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่ได้สั่งปิดน้ำตกป่าระอูชั่วคราว ส่งผลให้ขาดรายได้จากการท่องเที่ยว

 ภาคตะวันออก

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่

 ชลบุรี

เกิดเหตุน้ำท่วมถนนที่กำลังก่อสร้าง ในอำเภอศรีราชา พัทยา และบริเวณชายทะเลริมอ่าวไทย โดยเฉพาะเกาะสีชังและเกาะล้าน มีคลื่นสูง ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ส่งผลให้การจราจรติดขัด

ระยอง

บ้านเรือนอำเภอแกลง เสียหาย ได้แก่ หมู่ 3 ถึง หมู่ 6 และหมู่ 8 ต.พังราด เสียหายไปกว่า 100 หลังคาเรือน สวนเงาะ ทุเรียน พัดโค่นล้มไปกว่า 200 ไร่ ที่จังหวัดระยองชาวบ้านพบพายุงวงช้าง ซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุของความเสียหายครั้งนี้

จันทบุรี

ตำบลบางกระไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 5 หมู่บ้าน ในตำบลลางกะไชย ถูกลมฝนพัดกระหน่ำ หลังคาบ้านมุงกระเบื้องปลิว นอกจากนี้มีเสาไฟฟ้าล้มจำนวน 2 ต้น และต้นไม้ล้มหักโค่นกีดขว้างถนน ร้านขายอาหารกุ้ง กระเบื้องหลังคาปลิวหายไปกว่า 200 แผ่น อาหารกุ้งถูกน้ำฝนเสียหายกว่า 300-400 กระสอบ หลังทำการตรวจสอบพบบ้านเรือนเสียหายจำนวน 42 หลังคาเรือนบางบ้าน กระเบื้องหลังคาปลิวหายไปกว่า 100 แผ่น

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่

กาฬสินธุ์

เขตอำเภอห้วยผึ้ง ตำบลคำบง อิทธิพลน้ำป่าจากเทือกเขาภูพานได้นำน้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรได้รับความเสียหายจำนวน 4 พันไร่ นอกจากนี้บริเวณคอสะพานยังเกิดการชำรุดด้วยอิทธิพลของน้ำป่า

ชัยภูมิ

26 สิงหาคม พ.ศ.2554สถานการณ์น้ำชีทะลักล้นตลิ่งยังคงหนุนสูงต่อเนื่องเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและนาข้าวเสียพื้นที่การเกษตรนับหมื่นไร่ในหลายพื้นที่ของเขตอ.หนองบัวแดง,หนองบัวระเหว,บ้านเขว้า,จัตุรัส,เนินสง่าและเขตรอยต่ออ.เมืองชัยภูมิ บางส่วนบริเวณต.บ้านค่ายหมื่นแผ้ว รวมทั้งด้านปริมาณน้ำป่าหลากบนเทือกเขาภูแลนคา ยังส่งผลให้ระดับน้ำล้นสันเขื่อนลำปะทาว เขตรอยต่ออ.แก้งคร้อ และอ.เมืองชัยภูมิ ไหลเข้าตัวเมืองเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ทั้ง 25 ชุมชน และต้องสั่งปิดโรงเรียนชั่วคราวรวมกว่า 7 แห่งมาตั้งแต่วานนี้

 มุกดาหาร

20 สิงหาคม พ.ศ.2554 เกิดเหตุน้ำป่าไหลลงมาจากภูพานส่งผลให้น้ำท่วมนาข้าวบ้านเรือนเสียหายจำนวนมาก เกิดน้ำป่าไหลลงจากภูพานจนเอ่อเข้าท่วมชุมชนโคกสุวรรณ เขตเทศบาลเมืองมุกดาหารเป็นพื้นที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน ซึ่งขณะนี้ได้ถูกน้ำท่วมจนนาข้าวจ่มใต้น้ำนับหมื่นไร่ บ้านเรือนราษฎรนับร้อยหลังคายังถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายจำนวนมาก และระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้น จนเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง โดยเฉพาะชุมชนโคกสุวรรณ ในเขตุเทศบาลเมืองมุกดาหาร ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ รถจักยานยนต์ เป็นทรัพย์สินของชาวบ้าน ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขนย้ายออกไม่ทัน จากที่น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมอย่างฉับพลัน

นครพนม

หลายชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนมเกิดน้ำท่วมขัง สูงประมาณ 40 เซนติเมตรเฉพาะชุมชนหน้าโรงพยาบาลนครพนม น้ำท่วมสูงถึง 40 เซนติเมตร น้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรหลายสิบหลัง บริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองนครพนมน้ำข่วมขังประมาณ 25 ถึง 30 เซนติเมตรส่งผลให้ประชาชนใช้บริการตลาดสดและโรงพยาบาลดังกล่าวไม่สะดวก อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม หลังเกิดฝนตกหนักทั้งวันด้วยอิทธิพลพายุหมุนนกเตน ส่งผลเกิดน้ำป่าทะลักลงมาจากเทือกเขาภูลังกาจำนวนมากเมื่อตอนใกล้สว่างวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยกระแสน้ำไหลหลากท่วมบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อนนับ 100 หลัง ในหลายหมู่บ้านที่เส้นทางน้ำผ่าน เช่น บ้านไผ่ล้อม ต.ไผ่ล้อม หมู่ 1-5 บ้านพืชผล ต.นางัว โดนน้ำท่วมหนักที่สุดเกิดน้ำท่วมบ้านและถนนรอบหมู่บ้านชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำกันกลางดึก ขณะที่นาข้าวเกษตรกรนับพันไร่ใต้เทือกเขาภูลังกาจมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากน้ำป่าระบายลงสู่น้ำโขงไม่ได้

อุบลราชธานี

น้ำจากแม่น้ำโขง ได้เอ่อล้นเข้าไปตามลำน้ำ สาขา ต่างๆ เข้าไปในที่ลุ่ม พร้อมเข้าท่วม ไร่ นา พร้อมทั้งผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านับ 1 พัน ไร่ ทำให้ต้นข้าวนาปีที่ได้ปักดำแล้วเสร็จใหม่ ๆ ต้องจมอยู่ใต้น้ำไร่มัน พร้อมทั้งต้นปาล์ม กว่า 100 ไร่จมอยู่ใต้น้ำเช่นเดียวกันส่วนระดับน้ำในแม่น้ำโขง ก็ได้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันละ 50 ถึง 100 เซนติเมตร

สุโขทัย

ระดับน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วสาเหตุจากน้ำเหนือจากจังหวัดแพร่ไหลเข้ามาสมทบประกอบกับภาวะฝนตกหนักในพื้นที่ตลอดวานนี้ที่ผ่านมาจนเป็นเหตุให้เกิดภาวะแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัย
ทั้งนี้เมื่อเวลา 07.00 น.ของวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2554 ระดับน้ำในแม่น้ำยมที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเต็มทั้งสองฝั่งระดับน้ำสูงขึ้นโดยวัดจากจุดตรวจวัดระดับน้ำของกรมชลประทาน ณ.จุดตรวจวัดสถานี วาย4 ด้านหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูงถึง 7.20 เมตร ทำให้เกิดภาวะแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หมู่ที่ 1, 2, 4 และ 6 ต.ปากแคว อ.เมือง รวมทั้งระดับน้ำที่เอ่อล้นตลิ่งยังกำลังไหลบ่าเข้าท่วมถนนสายบายพาสรอบเมืองสุโขทัยอีกด้วย โดยระดับน้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏรหลายจุด รวมทั้งไหลบ่าข้ามถนนสายสุโขทัย – ศรีสำโรง ช่วงหน้าที่ทำการประปาและด้านหน้าสถานีไฟฟ้าสุโขทัยระยะทางยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ระดับน้ำสูงจากผิวถนน 50–60 เซนติเมตร ทำให้รถยนต์เล็กผ่านได้ลำบาก ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 หลังคาเรือน เช่นเดียวกันที่หมู่ที่ 4 บ้านสามหมื่น และ หมู่ที่ 6 บ้านวังกุ้ง ต.ปากพระ อ.เมือง ก็ประสบปัญหาภาวะน้ำท่วมในพื้นที่สูงจากแม่น้ำยมล้นตลิ่งเช่นเดียวกัน รวมทั้งระดับน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมยังไหลบ่าข้ามถนนสาย 1293 ตอนสุโขทัย – บางระกำ ระยะทางยาว 1.6 กม. ระหว่างหลัก กม.ที่ 8.700 – 10.300 ระดับน้ำสูงกว่าระดับพื้นผิวถนน 40 เซนติเมตร รถเล็กผ่านลำบากและต้องปิดการจราจรชั่วคราว ด้านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต 1 สั่งปิดโรงเรียนจากผลกระทบภาวะน้ำท่วมได้แก่ ร.ร วัดปากแคว ต.ปากแคว , และ ร.ร บ้านลัดทรายมูล ขณะเดียวกันจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ซึ่งออกติดตามสถานะการณ์ระดับน้ำอย่างใกล้ชิด ได้สั่งการด่วนให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องระดมกำลังพร้อมอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือเข้าพื้นที่ทำการช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน พร้อมออกประกาศเตือนชาวบ้านทั้งสองฝั่งของแม่น้ำยมให้เตรียมความพร้อมในการอพยพขนข้าวของขึ้นไว้ในที่สูง รวมทั้งระมัดระวังภาวะแม่น้ำยมล้นตลิ่งฉับพลัน โดยติดตามข่าวสารของทางราชการที่ออกประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เทศบาลเมืองสวรรคโลกย่านเศรษฐกิจน้ำท่วมพื้นที่ อาคารร้านค้าหลายแห่งปิดทำการน้ำท่วมสูงเศรษฐกิจพัง อ.ศรีสัชนาลัย อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง ต่อเนื่องถึง อ.เมือง และ อ.กงไกรลาศ โดยได้รับผลกระทบสาหัสมากที่สุดที่อำเภอสวรรคโลกถนนสายหลักคือถนนสายจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลขที่ 101 ต้องปิดการสัญจรช่วงเข้าเขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก เนื่องจากมีระดับน้ำท่วมขังถึง 50 เซนติเมตร รถเล็กผ่านได้ลำบากด้านโรงพยาบาลสวรรคโลก ถูกน้ำท่วมสูงคนไข้ใหม่ไม่สามารถเข้าไปรับบริการได้สถานที่ราชการ ที่ทำการอำเภอ โรงพักทุกจุดได้รับผลกระทบ โรงเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่ต้องสั่งหยุดการเรียนการสอน พื้นที่หลายหมู่บ้านของ ต.ย่านยาว , ต.คลองกระจง , ต.ท่าทอง กำลังถูกแม่น้ำยมที่เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อย่างหนัก

อุดรธานี

อุดรสรุปนกเต็นไร่นาน้ำท่วมเสียหายกว่า 1.4 แสนไร่ ทั้งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 14 อำเภอ 102 ตำบล 1,110 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 51,327 ครัวเรือน พื้นที่นาข้าวเสียหาย 143,809 ไร่ บ่อปลา 1,257 บ่อ ถนนเสียหาย 582 สายถนนโพศรี ถนนศรีสุข และถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนอุดรดุษฎี จมอยู่ในน้ำทั้งสาย และน้ำยังท่วมต่อเนื่องไปถนนนิตโย หน้าตลาดสดหนองบัว และนอกจากนี้น้ำยังท่วมเข้าไปในตลาดสดเทศบาล 1 – 2 ด้วย โดยเฉพาะถนนโพศรี ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีน้ำท่วมสูงประมาณ ครึ่งเมตร บริเวณที่ได้รับผลกระทบที่หนักที่สุดอยู่ที่สี่แยกวัดโพธิสมภรณ์ ต่อเนื่องไปทางถนนเพาะนิยม หน้าโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี น้ำท่วมสูงจากพื้นถนนประมาณ 1 เมตร ทำให้มีรถเล็กและรถจักรยานยนต์เครื่องยนต์เสีย จำนวนมาก

 หนองคาย

ผลกระทบจากพายุนกเตน ทำให้ จ.หนองคายน้ำท่วมหนักในรอบ 40 ปีย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองถูกน้ำท่วมขังสูงกว่า 1 เมตร กินพื้นที่กว่า 50% คิดมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 10 ล้านบาท

บึงกาฬ

ระดับน้ำในแม่น้ำสงคราม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล้นตลิ่งเข้าท่วม 3 หมู่บ้าน พื้นที่ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอพรเจริญ บ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 200 หลังนอกจากนี้ยังมีพื้นที่การเกษตร ถูกน้ำท่วมอีกกว่า 3 พันไร่

 สุพรรณบุรี

สถานการณ์น้ำที่ตลาดเก้าห้อง 100 ปี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นตลาดเก่าแก่และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีหอดูโจรที่เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี น้ำจากแม่น้ำท่าจีนได้เอ่อล้นแนวเขื่อนจนทำให้กระสอบทรายพังทลายน้ำได้ทะลัก เข้าท่วมเขตเศรษฐกิจ ของตลาดเก้าห้อง 100 ปี ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่กว่า 100 ปี กว่า 300 ห้องถูกน้ำท่วมชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่เทศบาลร่วมกับกำลังทหารจากกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี รวมกว่า 120 นาย เร่งหาทางกู้วิกฤติน้ำท่วม ได้ช่วยกันนำกระสอบทรายทำแนวเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อจะสูบระบายน้ำออก
ขณะที่ช่วงสายวัน 9 กันยายน พ.ศ.2554 ระดับน้ำแม่น้ำท่าจีนพื้นที่ตลาดเก้าห้อง 100 ปี น้ำเอ่อล้นไหลข้ามถนน ช่วงสายตลาดเก้าห้อง –ตลาดคอวัง อ.บางปลาม้า หลายจุด ขณะนี้น้ำมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นวงกว้างมากขึ้น ชาวบ้านหลายรายขนย้ายข้าวของรถยนต์กันไม่ทัน ซึ่งขณะนี้ภายในตลาดเก้าห้อง 100 ปี ระดับน้ำสูงกว่าเมื่อปี 2549 เกือบ 50 ซม.ล่าสุดกำลังกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี ร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาล กำลังเร่งหาทางกู้วิกฤติสถานการณ์น้ำที่ตลาดเก้าห้องก่อนเนื่องเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ชาวบ้านต้องใช้เรือแทนรถสัญจรไปมา ขณะที่คนป่วยก็ต้องใช้เรือเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาง ปลาม้า ทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความลำบาก

มุกดาหาร

มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 40,809 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 47,562 ไร่ บ่อปลา 693 บ่อ ถนนเสียหาย 383 สาย ท่อระบายน้ำ 50 แห่ง ฝายน้ำจำนวน 10 แห่ง ส่วนตลาดอินโดจีน ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ซึ่งน้ำได้ท่วมบริเวณชั้นใต้ดิน มีพ่อค้าแม่ค้าได้รับความเดือดร้อนจำนวน 400 คน

สกลนคร

พายุนกเต็นฝนถล่มจังหวัดสกลนครทั้งจังหวัด ทะเลสาบหนองหานน้ำเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ จ่อเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรหลายพันไร่ เตือนแม่โขงจ่อวิกฤตพื้นที่การเกษตรจังหวัดสกลนคร ได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้ว 9 อำเภอ สำหรับ อำเภอโพนนาแก้วได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักที่สุด มีพื้นที่การเกษตรจมใต้น้ำหลายหมื่นไร่

เลย

ฝนตกที่หนักต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมบนเทือกเขาในอำเภอเชียงคาน จ.เลย น้ำได้ไหลจากตำบลเขาแก้ว และตำบลธาตุ เข้าท่วมบ้านศรีพัฒนา หมู่ 5 และบ้านจอมศรี หมู่ 8 ต.นาสี อำเภอเชียงคาน น้ำท่วมนาข้าวกว่า 1,000 ไร่ และบ่อปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงกว่า 100 บ่อ ได้รับความเสียหาย ส่วนกระแสน้ำที่ไหลผ่าน ต.นาสี ได้ไหลเข้าท่วม ตลาดสามแยกบ้านธาตุ หมู่ 2 เทศบาลตำบลธาตุ ต.ธาตุ อำเภอเชียงคาน ริมถนนสายเลย-เชียงคาน ก.ม. ที่ 20 กระแสน้ำไหลเข้าท่วมร้านค้าที่ขวางทางน้ำได้รับความเสียหาย
กระแสน้ำยังเอ่อล้นท่วมทางสายบ้านธาตุ-ปากชม บริเวณ ก.ม. ที่ 5 บ้านผาพอด หมู่ 13 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จนเส้นทางขาด รถยนต์ขนาดเล็ก ไม่สามารถเดินทางผ่านไปมาได้ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ จ.เลย ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก ที่บ้านนาข่า ต.ปากหมัน อ.ด่านซ้าย จ.เลย แม่น้ำหมันที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้าย และตำบลนาดี นาหอ ปากหมัน นาข่า ไหลบรรจบกับแม่น้ำเหือง ที่บ้านนาข่า ต.ปากหมัน ซึ้งเป็นแม่น้ำที่กั้นระหว่าง 2 หมู่บ้านไทย-ลาว ได้เกิดน้ำไหลหลาก กระแสน้ำแรง ทำให้น้ำเอ่อริมตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บ้านข้าราชการครูโรงเรียนบ้านนาข่า ขยายเป็นวงกว้าง บางหลังน้ำท่วมจนเกือบมิดหลัง และพื้นที่การเกษตรข้าว ข้าวโพด ได้รับความเสียหายกว่า 1,000 ไร่

หนองบัวลำภู

ต.วังปลาป้อม อำเภอนาวัง ซึ่งเป็นจุดแรกที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย พบว่าปริมาณน้ำได้สูงขึ้นและเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตรใน ต.วังปลาป้อม ในบริเวณริมลำน้ำพะเนียง เป็นบริเวณกว้างกว่า 200 ไร่ และน้ำในลำน้ำพะเนียงได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตรตลอดสองฝากของลำน้ำที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งทางการออกเตือนภัยน้ำท่วมทันที

 กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครประสบกับวาตภัย จนเป็นเหตุให้เสาไฟฟ้าล้มและหม้อแปลงระเบิดในบางพื้นที่ส่งผลให้ไฟฟ้าดับราว 2 ชั่วโมงขึ้นไป
โดยน้ำเริ่มท่วมในบริเวณถนนพหลโยธินช่วงอนุสรณ์สถานราว 20 ซม. ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และพบเพิ่มเติมในพื้นที่อื่น ๆ อีกทั้งมีไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ในระยะเวลาไม่มากนัก การถ่ายรูปของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล และพายุหมุนตาลัส ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในกรุงเทพมหานครหลายพื้นที่ ภัยจากวาตภัยได้ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับที่เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์สาขารัชโยธินไฟฟ้าดับในเวลา 19.55 น. และไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ของเขตจตุจักรในเวลา 19.55 น. ส่วนวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 ภัยจากวาตภัยได้ส่งผลไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ซอยสุขุมวิท 62/1 สุขุมวิท 67 ถนนเกษตรนวมินทร์ ซอยพระราม 2 25 ซอยรามอินทรา 71 ซอยสวนผัก 29 และ 34 ซอยลาดพร้าว 101 ซอยหัวหมาก 9 และ 11 ซอยสายไหม 81 ซอยโปโล ซอยเพชรเกษม 20 แยก 4
ที่ซอยเอกชัย 16 และตลาดวงศกร เกิดเหตุหม้อแปลงระเบิด ศูนย์บริการผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวงได้ประกาศทางโทรศัพท์สายด่วน 1130 ว่าจะดำเนินการซ่อม 3 ชั่วโมงนับจาก 18.30 น. ซอยรัชดาภิเษก 42 แยก 4-1เกิดเหตุการณ์เสาไฟฟ้าล้มการไฟฟ้า โดยศูนย์บริการผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวงได้ประกาศทางโทรศัพท์สายด่วน1130จะดำเนินการซ่อม 4 ชั่วโมงนับจาก 18.30 น. ต่อมาเปลี่ยนประกาศเป็นซ่อมทั้งคืน โดยกำหนดแล้วเสร็จในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องปักเสาไฟฟ้าต้นใหม่และรื้อเสาไฟฟ้าต้นเก่าออกและพาดสายไฟฟ้าใหม่อีกทั้งซอยเป็นซอยแคบถนนเลนเดียวจึงทำงานอย่างยากลำบากและร้านค้าภายในซอยได้รับความเสียหายจากเสาไฟฟ้าที่ล้มลงมา ทางตำรวจได้อำนวยความสะดวกด้วยการปิดเส้นทางจราจรที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทำงานได้แก่พื้นที่ปากซอย(ซอยรัชดาภิเษก 36 42 44)(ซอยพหลโยธิน 28 30) พื้นที่ภายในซอย(ลาดพร้าววังหิน 79) (ซอยเสนานิคม 1) ส่งผลให้การจราจรติดขัดเนื่องจากตัวซอยเป็นทางลัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนรัชดาภิเษก ถนนลาดพร้าว วังหิน ถนนเสนานิคม 1

 ความเสียหาย

ภานุ แย้มศรี ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) กล่าวเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2554 ว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 12 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท อุบลราชธานี สิงห์บุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และนนทบุรี รวม 64 อำเภอ 442 ตำบล 2,455 หมู่บ้าน มีราษฎรเดือดร้อน 142,101 ครัวเรือน 442,128 คนจากสถานการณ์ทั้งหมด นอกจากนี้มียอดของผู้เสียชีวิต 72 ราย รวมทรัพย์สินเสียหาย 2.33 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภัยพิบัติธรรมชาติทางทะเล

ข้อมูลลักษณะชายฝั่งทะเลของไทย

      พื้นที่ชายฝั่งทะเล
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ที่ดินชายฝั่งทะเลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามากมาย เช่น ก๊าชธรรมชาติ น้ำ แร่ธาตุ อาหาร ชายหาด และทัศนียภาพอันงดงาม และยังเป็นพื้นที่สำคัญของโครงข่ายคมนาคมที่เป็นประตูเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ดังนั้นพื้นที่ชายฝั่งทะเลจึงเป็นฐานเศรษฐกิจที่ผลิตสินค้าต่างๆ มากมาย  ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งพาณิชยกรรม และแหล่งท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกัน พื้นที่ชายฝั่งทะเลก็ยังเป็นบริเวณที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนในด้านระบบนิเวศ ซึ่งอาจถูกทำลายได้ง่าย ทั้งโดยภัยธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา โดยมิให้เกิดการทำลายคุณค่าที่มีอยู่ เช่น โดยการตักตวงผลประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลมากจนเกินไปหรือโดยการก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษ

      ปัญหาหลักในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล คือ การเสื่อมสภาพของที่ดินชายทะเลและทรัพยากรชายฝั่ง รวมถึงการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม โดยการถูกทำลาย การตักตวงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมากเกินไป การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดในเขตพื้นที่ชายทะเลซึ่งส่งผลกระทบทางลบมากมายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ทรัพยากรชายฝั่งที่สำคัญหลายชนิด เช่น ป่าชายเลน ที่ดินชายหาด แนวปะการัง หญ้าทะเล และน้ำทะเลใกล้ชายฝั่งได้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงไปจนอยู่ในขั้นที่ต้องการการเอาใจใส่ และจัดการอย่างเร่งด่วน
      
      พื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมากได้ถูกทำลายและใช้ประโยชน์เกินความจำเป็นในหลายประเภท จากสถิติชี้ให้เห็นว่าป่าชายเลนถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2522 พื้นที่ป่าชายเลนลดลงในอัตรา ร้อยละ 2 ต่อปี เทียบกับอัตราลดลงในระหว่าง พ.ศ. 2504-2518 ซึ่งเฉลี่ย ร้อยละ 1 ต่อปี  แม้ในปัจจุบันอัตราการนำที่ดินป่าชายเลนมาใช้ประโยชน์จะลดลงน้อยกว่าในช่วงปี พ.ศ. 2518-2522 ก็ตาม แต่ที่ดินซึ่งเคยเป็นป่าชายเลนหลายพื้นที่ได้เปลี่ยนสภาพโดยถาวร  เช่น  บริเวณชุมชนที่อยู่อาศัย  อาคารพาณิชยกรรม โรงงานอุตสาหกรรมและโครงข่าย  และพื้นที่เกษตรกรรม  รวมถึงพื้นที่ป่าชายเลนชายฝั่งทะเลอันดามัน ภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ จนเสื่อมสภาพในปัจจุบัน ความต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้และการสัมปทานการทำไม้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายไปมาก นอกจากนี้การปลูกป่าชายเลนทดแทนส่วนใหญ่ยังไม่มีการปลูกดำเนินการอย่างจริงจัง เว้นแต่ภาคราชการเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ระบบนิเวศจะสูญเสียไป และบ่อยครั้งที่ความสูญเสียเหล่านี้มีค่ามากกว่าสิ่งที่ได้มาจากกิจการที่ก่อให้เกิดการทำลายป่าเหล่านั้นเสียอีก

      แนวปะการังหลายแห่งมีสภาพเสื่อมโทรม และบางแห่งถูกทำลาย เนื่องจากการทับถมของตะกอนดินจากการทำเหมืองแร่ดีบุกทั้งในทะเลและเหมืองบนบกในอดีต การทำการเกษตรบริเวณที่สูงของพื้นแผ่นดินบนฝั่งโดยขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ จากการจับปลาอย่างผิดกฎหมาย การระเบิดปลาใกล้กับเกาะต่างๆ ตามชายฝั่งทะเลอันดามัน การเก็บปะการังในอ่าวไทยเพื่อทำเป็นสินค้า ปะการังที่หายากบางชนิดถูกนำไปเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ นอกจากนี้ ในเขตที่มีนักท่องเที่ยว แนวปะการังยังถูกทำลายโดยการกระแทกของสมอเรือ การดำน้ำเพื่อดูปะการังที่ไม่ถูกวิธี และการนิยมเก็บปะการังไปเป็นที่ระลึก

      ที่ชายหาดและทิวทัศน์สวยงามมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมาช้านาน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านการพักผ่อนหย่อนใจบางประเภทตามชายหาด และการพัฒนาอื่นๆ บางประเภท มีผลทำให้ความงามของสุนทรียทรัพย์ อันได้แก่ ทิวทัศน์ธรรมชาติเหล่านั้นลดน้อยลง ปัญหาของเสียที่ระบายออกจากอาคารบ้านเรือนและบริเวณที่พักนักท่องเที่ยว มีการก่อสร้างอาคารและรั้วรุกล้ำลงไปจนถึงแนวชายหาด การตกตะกอนทับถมของเศษดินและหินจากการทำเหมืองแร่ในอดีต การทำเหมืองทรายในบริเวณหรือใกล้กับบริเวณชายหาด รวมถึงการก่อสร้างในกิจการต่างๆ ในปัจจุบัน และคราบน้ำมันจากเรือ ต่างก็มีส่วนทำให้สภาพของชายหาดเสื่อมโทรมลง การกัดเซาะพังทลายที่เกิดขึ้นบริเวณชายหาดและการทำลายแนวปะการังจะเป็นตัวเร่งความเสื่อมโทรมของที่ดินชายหาดเร็วขึ้น

      การตั้งถิ่นฐานชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม บริเวณท่องเที่ยว และท่าเรือตามแนวชายฝั่งทะเลได้ก่อให้เกิดมลพิษในน้ำทะเลไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทั้งนี้เนื่องมาจากไม่มีการควบคุมปริมาณของเสีย ทั้งน้ำเสีย และขยะ ซึ่งระบายมาจากบริเวณชุมชนนั้น มลพิษในน้ำทะเลยังมีสาเหตุมาจากการมีตะกอนดินถูกปล่อยทิ้งออกมาในบริเวณชายฝั่งทะเล มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสู่ทะเล คราบน้ำมันที่รั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมันและเรืออื่นๆ ตลอดจนของเสียจากร่างกายมนุษย์ ขยะ และสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ทิ้งจากเรือทั้งในทะเลและขณะทอดเทียบอยู่ที่ท่าเรือ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาร้ายแรง ปริมาณมลพิษที่เพิ่มมากขึ้นเหล่านี้ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศของทะเล ชายฝั่งและชะวากทะเล ( เช่น บริเวณป่าชายเลน และแนวปะการัง เป็นต้น ) มลพิษแม้แต่เพียงน้อยก็อาจเป็นอันตรายต่อการใช้ประโยชน์จากน้ำทะเล เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ

      ภัยธรรมชาติ การกัดเซาะพังทลายชายฝั่งทะเล การตื้นเขินบริเวณปากน้ำ น้ำท่วมในฤดูมรสุม นับว่าเป็นปัญหาอีกประเภทหนึ่งที่พบในบริเวณพื้นที่ชายทะเล ความรุนแรงของความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และบทบาทของระบบนิเวศในการช่วยควบคุมความเสียหายจากภัยธรรมชาติมักจะถูกละเลย ยังไม่มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานอันเป็นข้ออ้างอิงเพื่อการลดความรุนแรงของภัยพิบัติ

      นอกจากนี้ ปัญหาที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลก็คือ การขาดความร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรชายฝั่งทะเล ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากความขัดแย้งกันในการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ การละเว้นบทบาทของชุมชนท้องถิ่น การขาดความเข้าใจและการเอาใจใส่ต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและที่ดินของชุมชนในท้องถิ่นที่รัฐไม่ได้เสริมสร้างให้เข้มแข็ง

      ปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ควรต้องมีการปรับปรุงทางด้านนโยบายและแนวทางบริหารเสียใหม่ การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งและที่ดิน เช่น ป่าชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเล แหล่งประมงและพื้นที่เพาะเลี้ยงชายฝั่ง ทรัพยากรแร่ ชุมชนที่อยู่อาศัย การพาณิชย์กรรมและอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายทะเล ย่อมต้องการความร่วมมือและการประสานแผนพัฒนาในระหว่างองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีหน้าที่ ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต้องถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ ทั้งกำหนดแนวความคิด บูรณาการวางแผนร่วมกันกับองค์กรต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรชายฝั่ง เพื่อนำพาประเทศก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดไป

      การกำหนดแนวเขตที่ดินชายฝั่งทะเลเพื่อการปฏิบัติงานที่ชัดเจน จึงเป็นกลวิธีที่สำคัญที่ทำให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ชายฝั่งทะเลสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างกว้างขวางไปในทิศทางเดียวกัน บังเกิดผลสำเร็จของงานด้านการจัดการและพัฒนาที่ดินชายฝั่งของประเทศชาติ

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คลื่นสึนามิคืออะไร




 สึนามิคืออะไร ?
         "Tsunami" สึนามิเป็นชื่อคลื่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยชุดของคลื่นที่มีความยาวคลื่นค่อนข้างมาก และช่วงห่างระยะเวลา ของแต่ละลูกคลื่นยาวนาน เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งจมตัวลงตรงแนวรอยเลื่อน หรือการที่มวลของน้ำ ถูกกระตุ้นหรือรบกวน โดยการ แทนที่ทางแนวดิ่งของมวลวัตถุ สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวแผ่นดินถล่มการระเบิดและการประทุขอ ภูเขาไฟหรือแม้กระทั่งการกระทบของ อนุภาคขนาดใหญ่เช่น อุกกาบาตสามารถก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ซึ่ง คลื่นสึนามิสามารถ ทำลายชายฝั่งทะเลเป็นสาเหตุให้เกิดความพินาศเสีย หายต่อทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน
          "Tsunami" สึนามิเป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "harbor wave" หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่งหรือท่าเรือ โดยที่คำว่า "Tsu" หมายถึง "harbor" อ่าว,ฝั่งหรือท่าเรือ ส่วนคำว่า 'Nami' หมายถึง "คลื่น"ในอดีตนั้นสึนามิ ถูกใช้ในความหมายถึงน้ำท่วม ใหญ่ริมฝั่ง ทะเลเนื่องมาจากแผ่นดินไหว 'tidal waves' ซึ่งเป็นที่ใช้กันอยู่แพร่หลายทั่วไปเช่นเดียวกับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว ในทะเล 'seismic seawave' ซึ่งใช้กันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ คำว่า 'tidal wave' นี้เป็นการเรียกชื่อ คลื่นสึนามิที่ผิด ถึงแม้ว่าผลกระทบที่เกิดจาก คลื่นสึนามิ มีต่อชายฝั่งทะเลนั้นขึ้นกับ ระดับของน้ำขึ้น น้ำลง ยามเมื่อคลื่นสึนามิพุ่งกระแทกสู่ฝั่ง แต่คลื่นสึนามิไม่ได้มีความสัมพันธ์กับระดับของน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งระดับน้ำ นั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุล ผลจาก แรงดึงดูดของดวงจันทร์ พระอาทิตย์และโลกสึนามินั้นไม่ได้เป็น Tidal waves เนื่องจาก กระบวนการของtidal waves ต้องใช้เวลานานนับ ศตวรรษ ในการกัดเซาะทับถมชายฝั่ง แต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเปลี่ยนสภาพพื้นที่ ่ชายฝั่งในช่วงเวลาสั้นๆส่วนคำว่า 'seismic sea wave'ก็ทำให้เกิด ความเข้าใจผิด เช่นกัน คำว่า 'seismic' เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งมี ความสัมพันธ์ก่อให้เกิดการไหวตัวแต่คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดจากปรากฏการณ์ ที่เป็นNon-seismic อย่างเช่นเกิด    แผ่นดินถล่มหรือ ผลจากอุกกาบาตพุ่งชนคลื่นสึนามิไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยตรงจากแผ่นดิน ไหวอย่างเดียว แต่ เป็นปฏิกิริยาเกิดจากการที่แผ่นดินไหวแล้วเกิดแผ่นดินยุบหรือถล่ม หรือก้อนอุกกาบาตพุ่งลงทะเล ทำให้มวลน้ำถูกแทนที่จึงเกิดปฏิกิริยาของแรงต่อ เนื่องทำให้เกิดคลื่นยักษ์ใต้น้ำขึ้น ซึ่งก็คือ คลื่นสึนามิ นั้นเอง ซึ่งก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น 'Non-seismic sea wave' ได้เช่นกัน คลื่นสึนามิ ที่เรียกว่า Seismic sea wave นั้นเกิดจากกรณีที่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในมหาสมุทรหรือใกล้ชายฝั่งแผ่น ดินไหวจะสร้างคลื่นขนาดมหึมา เกิดขึ้นใต้น้ำพลังงานจะแผ่ออกทุกทิศทุกทางจากแหล่งกำเนิดนั่นคือแผ่ออกจากรอบศูนย์กลางบริเวณที่เกิด แผ่นดินไหวนั่นเองคลื่นจะค่อนข้างใหญ่มากเมื่อเข้าสู่ฝั่งสภาพทีเป็นจริงในทะเลเปิดน้ำลึกจะเห็นคล้ายลูกคลื่นพองวิ่งเลียบไปกับผิวน้ำซึ่งเรือยังสามารถแล่นอยู่            

            คลื่นนี้ได้แต่เมื่อคลื่นนี้เคลื่อนมาถึง บริเวณน้ำตื้น ใกล้ชายฝั่ง มันจะเคลื่อนโถมเข้าสู่ชายฝั่งบางครั้งสูงถึง 35 m(2,000 ฟุต) ซึ่งคลื่นสึนามินี้เคลื่อนตัวได้เร็วมาก โดยมีความเร็วประมาณ 1,000 กม.ต่อชั่วโมง (630 m/h) การเตือนภัยไม่สามารถ ทำได้ทันเวลา
การตรวจจับคลื่นคลื่นสึนามินั้นกระทำได้ยากมาก เมื่อคลื่นเริ่มเกิดในมหาสมุทรบริเวณที่น้ำลึก คลื่นอาจจะมีความสูงเพียง 10-20 นิ้วเอง ซึ่งดูเหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากกว่าการกระเพิ่มขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทรเอง
กล่าวโดยรวมแล้วสาเหตุการเกิดคลื่นสึนามินั้น มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น
  • เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เช่นเหตุการณ์ที่การากาตัว เมื่อปีค.ศ. 1883
  • เกิดจากแผ่นดินถล่ม เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวซากามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีคศ. 1933
  • เกิดจากการที่ก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวลิทูยาอลาสกาเมื่อปีค.ศ.1933
  • เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว เช่นเหตุการณ์ อลาสกันซูนาม บริเวณอลาสกาในปีค.ศ.1964
  • การเกิดระเบิดใต้น้ำจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเลอย่างไร ?
         สึนามินั้นไม่เหมือนกับคลื่นที่เกิดจากลม ซึ่งเรามักจะสังเกตเห็นคลื่นได้จากในทะเลสาปหรือในท้องทะเลซึ่งคลื่นเหล่า นั้นมัก เป็นคลื่นที่ไม่สูงนัก หรือคลื่นที่มีลูกคลื่นตื้น ๆ ประกอบกับมีระลอกและความยาวของคลื่นที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องลมเป็นตัวที่ก่อ ให้เกิด คลื่นซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่ว ๆไป ตามชายหาด อย่างเช่น หาดบริเวณแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีคลื่นม้วนตัวกลิ้งอยู่เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูก หนึ่งไปสู่อีกลูกหนึ่งซึ่งบางคราวกินเวลาต่อเนื่อง กว่า 10 วินาทีและมีความยาวของลูกคลื่นกว่า 150 เมตรในทางตรงกันข้ามคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นเกินกว่า100 กม.และช่วงระยะเวลาของระลอกคลื่น ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความยาวของคลื่น ที่มีความยาวมากนั่นเอง

การเกิดคลื่นสึนามิ

   

   นับตั้งแต่เริ่มกำเนิดโลกมา โลกเราได้ประสบกับวิกฤติการณ์ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงมากมายในปัจจุบัน โลกก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จัดเป็นกระบวนการธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของพลังงาน โดยเกิดขึ้นทั้งใน บรรยากาศบนผิวโลก พื้นโลก พื้นสมุทร รวมถึงในชีวมณฑล (Biosphere) ด้วย มีตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่ไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเสมอๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรงและเป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าภัยธรรมชาติต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินภัยธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่ มนุษย์ก็มี ส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยภัยธรรมชาติครั้งล่าสุด ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม 2541ที่ผ่านมานี้คือเกิด คลื่นยักษ์ใต้น้ำถล่มปาปัวนิวกินีและก็ยังเป็นกระแสข่าวที่สั่นสะเทือนถึง ขวัญของชาวไทยภาคใต้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงภาวะการท่องเที่ยวในปี Amazing Thailand อีกด้วย
เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มปาปัวนิวกินี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา โดยหมู่บ้านกว่า 10 แห่งถูกคลื่นซัดเสียหาย ตั้งแต่คืนวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 3,000 คน และกว่า 6,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย โดยคลื่นมีความสูงระหว่าง 23 -33 ฟุต เมื่อพุ่งเข้า ปะทะชายฝั่งปาปัวนิวกินี ทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเกิดจากผลของ แผ่นดินไหวใต้น้ำที่มีค่า 7.0 ตามมาตราวัดริกเตอร์สเกล ทำให้เกิด ความเสียหายตาม พื้นที่ชายฝั่งยาวประมาณ 60 ไมล์ (90 กิโลเมตร)